^ Back to Top

ประกวดโครงงาน “กล้าใหม่...สร้างสรรค์ชุมชน”

ประกวดโครงงาน “กล้าใหม่...สร้างสรรค์ชุมชน”

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ขอเชิญนิสิต นักศึกษา ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดโครงงาน “กล้าใหม่...สร้างสรรค์ชุมชน” ระดับอุดมศึกษา ในโครงการ “กล้าใหม่...ใฝ่รู้” ปี 2557 ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนการศึกษามูลค่ารวมกว่า 2,365,000 บาท

ที่มา
จากการที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นองค์กรขนาดใหญ่ คณะกรรมการธนาคารตระหนักดีถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในการที่จะเป็นองค์กรธุรกิจ
ที่เป็นแบบอย่างที่ดี และมีความตั้งใจจริงที่จะมีส่วนร่วมต่อสังคมโดยการช่วยวางรากฐานของชุมชนและสังคมให้มีความเข้มแข็ง โดยธนาคารเชื่อมั่นว่า แนวทาง
ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย คือ การพัฒนาเยาวชนและส่งเสริมการเรียนรู้ การส่งเสริมแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านเครือข่ายจิตอาสา

โครงการ “กล้าใหม่...ใฝ่รู้” เป็นหนึ่งในโครงการหลักด้านการพัฒนาเยาวชนที่ธนาคารริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งตรงกับวาระที่ธนาคารดำเนินธุรกิจมาครบ 100 ปี เป็นเวทีให้เยาวชนทุกระดับการศึกษาได้แสดงศักยภาพ เพิ่มพูนทักษะความรู้แสดงออกซึ่งความคิดสร้างสรรค์ รู้จักการทำงานเป็นทีม และปลูกฝังให้เกิดจิตอาสา
ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ผ่านการแข่งขัน 3 ประเภท ได้แก่ การแข่งขันวาดภาพระบายสีของนักเรียนชั้นประถมศึกษา การแข่งขันตอบคำถาม
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และการแข่งขันโครงงาน “กล้าใหม่...สร้างสรรค์ชุมชน” ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

หลักการและเหตุผล
การแข่งขันโครงงาน “กล้าใหม่...สร้างสรรค์ชุมชน” ในระดับอุดมศึกษา ถือเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมในระยะยาว เป็นโครงการที่ธนาคารมุ่งหวังให้
นิสิตนักศึกษานำความรู้ที่เป็นทฤษฎีและประสบการณ์จากการศึกษาในสถาบันการศึกษามาคิดสร้างสรรค์ จัดทำเป็นแผนการดำเนินงานและกิจกรรม เพื่อประโยชน์
ของคนในชุมชนที่อยู่ไม่ไกลจากสถาบันการศึกษาของตน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และสามารถบูรณาการการเรียนรู้
ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการไปประยุกต์ใช้ในชีวิตการทำงานจริงของตนเอง ตลอดจนได้มีโอกาสสร้างสัมพันธภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
ระหว่างเพื่อนนิสิตนักศึกษา ทั้งจากสถาบันการศึกษาเดียวกันและต่างสถาบันการศึกษา ก่อให้เกิดการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเพื่อการทำดีร่วมกันในอนาคต

วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาในการประยุกต์ใช้ความรู้จากห้องเรียนมาปฏิบัติจริงก่อนเข้าสู่ชีวิตการทำงานและปลูกฝังให้นิสิตนักศึกษารู้จักถึง
การริเริ่ม สร้างสรรค์ การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับสังคมและส่วนรวม (Change Agent for Our Society)
2. เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์เป็นตัวแทนในการถ่ายทอดและขยายองค์ความรู้สู่นิสิตนักศึกษาและสู่สังคม
3. เพื่อประโยชน์กับชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต หรือสิ่งแวดล้อม

หลักเกณฑ์การสมัครเข้าแข่งขัน
1. ทีมที่สมัครเข้าร่วมแข่งขันต้องประกอบด้วยนิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) หรือเทียบเท่าเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นคณะหรือ
สาขาภาควิชาเดียวกันและไม่จำกัดชั้นปี
2. แต่ละสถาบันการศึกษาสามารถส่งโครงงาน (Project) เข้าแข่งขันได้ไม่จำกัดจำนวน และแต่ละทีมที่สมัครเข้าร่วมแข่งขันสามารถมีสมาชิกในการดำเนิน
กิจกรรมของโครงงานที่นำเสนอได้ไม่จำกัดจำนวนสมาชิก
3. แต่ละทีมต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างน้อย 1 ท่าน โดยอาจารย์ที่ปรึกษาดังกล่าวจะต้องมีตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำของสถาบันการศึกษานั้นๆ และ
อาจารย์ที่ปรึกษา 1 ท่านสามารถเป็นที่ปรึกษาโครงงานที่ส่งเข้ามาร่วมแข่งขันได้ไม่เกิน 10 โครงงาน
4. ทีมที่สมัครเข้าร่วมแข่งขันต้องนำส่งโครงงานที่มีรายละเอียดครบถ้วนตามลักษณะโครงงานที่กำหนด มายัง

โครงงาน “กล้าใหม่...สร้างสรรค์ชุมชน” ตู้ ปณ. 1117 ปณฝ. เพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ 10311
หรือที่ e-mail address: scbchallenge@scb.co.th ภายในวันที่ 25 กันยายน 2557

หมายเหตุ: ในช่วงเวลาที่แข่งขัน ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ให้ทีมนิสิตนักศึกษาสามารถรับทุนดำเนินงานโครงงานกับโครงการ “กล้าใหม่...ใฝ่รู้” เพียงแห่งเดียว
โดยหากพบว่าทีมใดรับทุนดำเนินงานโครงงานจากการแข่งขันขององค์กรอื่น ธนาคารจะขอตัดสิทธิ์ทีมนั้นจากการแข่งขัน

ลักษณะโครงงาน
1. โครงงานที่นิสิตนักศึกษาส่งเข้าร่วมแข่งขันต้องเป็นโครงงานที่เป็นความต้องการของชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจอยู่ในท้องถิ่นชนบท หรือเขตเมืองก็ได้
แต่ต้องตั้งอยู่ไม่ไกลจากสถาบันการศึกษานั้นๆ เพื่อความสะดวกในการลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมตามแผนโครงงาน
2. เป็นโครงงานที่นิสิตนักศึกษานำความรู้ที่เป็นทฤษฎีและประสบการณ์จากการศึกษาในสาขาที่เรียนมาคิดสร้างสรรค์ จัดทำเป็นแผนการดำเนินงานและ
กิจกรรมเพื่อประโยชน์ร่วมกันของคนในชุมชนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต หรือสิ่งแวดล้อม ประการใดประการหนึ่ง หรือในลักษณะบูรณาการ
3. แม้ว่าระยะเวลาการดำเนินโครงงาน “กล้าใหม่...สร้างสรรค์ชุมชน” มีกำหนดสิ้นสุดในเดือนเมษายน 2558 แต่กิจกรรมและผลกระทบของโครงงานจะต้อง
มีผลสืบเนื่องต่อไปในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใกล้ถึงกำหนดการตัดสินโครงงาน ทีมนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องแสดงให้เห็นถึง
ความร่วมมืออย่างแท้จริงและต่อเนื่องระหว่างทีมนิสิตนักศึกษากับสมาชิกภายในชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย และต้องแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของกิจกรรม
โดยที่ชุมชน/กลุ่มเป้าหมายสามารถที่จะดำเนินการด้วยตนเองต่อเนื่องไปได้ แม้ว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการกิจกรรมของทีมนิสิตนักศึกษาแล้วก็ตาม
4. โครงงานที่ส่งเข้าร่วมแข่งขันต้องมีความยาวไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4 (ไม่รวมเอกสารแนบ) ประกอบด้วยข้อมูลดังนี้

  • ชื่อโครงงาน ชื่อมหาวิทยาลัย
  • ลักษณะโครงงาน (ให้ระบุว่า เป็นโครงงานที่ทีมคิดดำเนินการเองปีนี้เป็นปีแรก หรือ เป็นโครงงานต่อเนื่องจากโครงงานปีที่แล้ว หรือเป็นส่วนหนึ่งใน
  • โครงการของอาจารย์ที่ปรึกษา คณะ/สถาบันการศึกษา เป็นต้น)
  • หลักการและเหตุผลของโครงงาน (อธิบายเหตุผลที่รวมตัวกันมานำเสนอโครงงาน หรือแรงบันดาลใจในการทำโครงงาน และให้อธิบายรวมไปถึงตัวนักศึกษา
  • ที่รวมกลุ่มกันมาทำโครงงานว่าประกอบด้วยใครบ้าง เรียนคณะอะไร ใครมีบทบาทหน้าที่อะไร มีความรู้ความชำนาญเรื่องใดเป็นพิเศษ)
  • วัตถุประสงค์ของโครงงาน (อธิบายถึงสิ่งที่ต้องการทำ โดยอธิบายด้วยว่าทำสิ่งเหล่านี้เพื่อผลอะไรต่อชุมชน)
  • ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่เป้าหมาย พร้อมภาพประกอบ (อธิบายเหตุผลในการเลือกชุมชน ลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจของ
    ชุมชน เช่น จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร ชาติพันธุ์ อาชีพ ศาสนา วัฒนธรรมพื้นถิ่น และระยะทางจากสถาบันการศึกษาถึงพื้นที่จัดทำโครงงาน)
  • แผนการดำเนินงานโครงงาน (อธิบายขั้นตอน รูปแบบกิจกรรม และระยะเวลา)
  • การมีส่วนร่วมของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน (ระบุบุคคลและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงงาน และอธิบายวิธีการดำเนินการ และ/หรือ
    การได้รับความช่วยเหลือ จากบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ระบุ)
  • ผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงงาน (อธิบายถึงผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ ต่อนิสิตนักศึกษา สถาบันการศึกษา ชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย และอื่นๆ)
  • แผนงบประมาณที่จะใช้ในการดำเนินโครงงาน (แบ่งเป็นหมวดหมู่ภายใต้งบประมาณ 75,000 บาท)
  • การวัดความสำเร็จของโครงงาน (ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ในด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม)
  • แผนการทำให้ชุมชน/กลุ่มเป้าหมายดำเนินโครงงานต่อไปได้ด้วยตนเอง
  • เอกสารแนบ ซึ่งต้องประกอบด้วย
    • รายละเอียดหัวหน้าทีม ผู้ประสานงานทีม และทีมงาน ได้แก่ ชื่อ-สกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน ชั้นปีการศึกษา คณะ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์
      ที่สามารถติดต่อได้ e-mail address รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    • รายละเอียดอาจารย์ที่ปรึกษา ได้แก่ ชื่อ-สกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ e-mail address พร้อมประวัติการศึกษา และการทำงาน (สามารถศึกษาตัวอย่างการเขียนข้อเสนอโครงงาน “กล้าใหม่...สร้างสรรค์ชุมชน” ได้จาก Web-site: www.scbchallenge.com/community)

รูปแบบการแข่งขัน

  • รอบคัดเลือกรอบที่ 1
    คณะกรรมการจะพิจารณาโครงงานที่ส่งเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด และคัดเลือก 40 โครงงานเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบที่ 2 และจะประกาศผลการคัดเลือกผ่าน Web-site: www.scbchallenge.com โดยเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกโครงงานของคณะกรรมการ ได้แก่ ความสมบูรณ์และความเป็นไปได้ของแผนโครงงาน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประโยชน์ต่อชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย แผนการเพื่อความยั่งยืนของโครงงาน การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง และความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณ
  • รอบคัดเลือกรอบที่ 2
    • ตัวแทนทีมนิสิตนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบที่ 2 จำนวน 40 ทีม จะต้องส่งตัวแทนทีมละ 3 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา 1 ท่าน มาเข้าร่วมค่ายกิจกรรมเรื่อง “การจัดการโครงงานสู่เป้าหมาย” และ “การทำงานกับชุมชน” ที่ธนาคารจัดให้ (ระยะเวลา 2.5 วัน) เพื่อนำความรู้จาก ค่ายฯ ดังกล่าวไปปรับปรุงโครงงานเพื่อให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
    • หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมค่ายฯ ประมาณ 2 สัปดาห์ ทีมนิสิตนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบที่ 2 ทั้ง 40 ทีม จะต้องส่งตัวแทนทีมละ 3 คนมานำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการ (ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการนำเสนอ) คณะกรรมการจะคัดเลือก 20 โครงงานเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบที่ 3 และจะประกาศผลการคัดเลือกผ่าน Web-site: www.scbchallenge.com โดยเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกโครงงานของคณะกรรมการจะแจ้งให้ทั้ง 40 ทีมทราบภายหลัง
  • รอบคัดเลือกรอบที่ 3
    • ทีมนิสิตนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบที่ 3 จำนวน 20 ทีม จะได้รับงบประมาณทีมละ 75,000 บาท เพื่อนำไปดำเนินงานตามโครงงานที่นำเสนอ
    • ระหว่างการดำเนินงานตามโครงงาน ทุกทีมจะต้องนำส่งรายงานความคืบหน้าของโครงงานผ่าน Web-site: www.scbchallenge.com ตามวัน เวลาที่กำหนด
    • ระหว่างการดำเนินงานตามโครงงาน เจ้าหน้าที่โครงการจะไปตรวจเยี่ยมโครงงานในพื้นที่และติดตามผลการดำเนินโครงงาน 2 ครั้ง โดยจะติดต่อประสานงานล่วงหน้ากับผู้ประสานงานของทุกทีม และจะเริ่มการตรวจเยี่ยมตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รูปแบบการตรวจเยี่ยมโครงงานในพื้นที่จะเป็นดังนี้
      • การนำเสนอรายละเอียดโครงงานโดยทีมนิสิตนักศึกษา
      • เจ้าหน้าที่โครงการสัมภาษณ์ตัวแทนชุมชน/กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับโครงงานและทีมนิสิตนักศึกษา
      • เจ้าหน้าที่โครงการเยี่ยมชมพื้นที่ดำเนินโครงงานเพื่อประเมินผลและให้คำแนะนำต่อทีมนิสิตนักศึกษา
    • ในการพิจารณาคัดเลือก 5 ทีมเข้าสู่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ แต่ละทีมจะต้องส่งตัวแทนทีมละ 3 คน มานำเสนอรายงานสรุปโครงงาน ตั้งแต่เริ่มโครงงานจนถึงปัจจุบันต่อคณะกรรมการ (ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการนำเสนอ)
    • หลังเสร็จสิ้นการนำเสนอรายงานสรุปโครงงานต่อคณะกรรมการแล้ว ตัวแทนทีมนิสิตนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบที่ 2 ทั้ง 20 ทีม ทีมละ 3 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา 1 ท่าน จะต้องเข้าร่วมกิจกรรมสรุปการเรียนรู้จากโครงงานที่ธนาคารจัดให้ด้วย (ระยะเวลา 1.5 วัน)
  • รอบชิงชนะเลิศ
    ทีมนิสิตนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศจำนวน 5 ทีม จะต้องส่งตัวแทนทีมละ 3 คน มานำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการ (ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการนำเสนอ) ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด เพื่อชิงรางวัลชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง และรางวัลชมเชย 2 รางวัล โดยคะแนนที่แต่ละทีมได้รับจะมาจากทั้งคะแนนจากคณะกรรมการ และคะแนนโหวตจากประชาชนทั่วไปและพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ ผ่านช่องทาง Facebook SCB Thailand และ Facebook SCB Challenge

กำหนดการแข่งขัน

  • 25 กันยายน 2557 สิ้นสุดการรับสมัครโครงงานที่เข้าร่วมการแข่งขัน
  • 10 ตุลาคม 2557 ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกรอบที่ 2 จำนวน 40 ทีม
  • 22-25 ตุลาคม 2557 ทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกรอบที่ 2 จำนวน 40 ทีม ส่งตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมค่าย “การจัดการโครงงานสู่เป้าหมาย” และ
  • “การทำงานกับชุมชน” ที่โรงแรม เดอะ เกรซ อัมพวา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
  • 12-14 พฤศจิกายน 2557 ทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกรอบที่ 2 จำนวน 40 ทีม ส่งตัวแทนมานำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการ เพื่อคัดเลือก 20 ทีมเข้าสู่
  • การแข่งขันรอบคัดเลือกรอบที่ 3 ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • 17 พฤศจิกายน 2557 ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกรอบที่ 3 จำนวน 20 ทีม
  • 24-26 มีนาคม 2558 ทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกรอบที่ 3 จำนวน 20 ทีม นำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการ ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่
  • 27 มีนาคม 2558
    • ทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกรอบที่ 3 จำนวน 20 ทีม เข้าร่วมกิจกรรมสรุปการเรียนรู้จากโครงงาน
    • ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านรอบคัดเลือกเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศจำนวน 5 ทีม
  • 24 เมษายน 2558
    • ทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 5 ทีม ส่งตัวแทนมานำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการ
    • ประกาศผลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
  • กำหนดการและเงื่อนไข ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง และรางวัลชมเชยทั้ง 2 รางวัล
  • จะแจ้งให้ทราบภายหลัง เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานภาคสนาม โครงการในพระราชดำริ จำนวน 3 วัน 2 คืน

หมายเหตุ

  • ในการมาร่วมกิจกรรมการแข่งขันทุกครั้ง ธนาคารยินดีสนับสนุนค่าเดินทางตามระยะทางจากอำเภอที่ตั้งของสถาบันการศึกษา และที่พักทีมละ 2 ห้อง (จำนวนคืนตามความจำเป็น)
  • วัน เวลาและสถานที่ในการจัดกิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลง โดยฝ่ายประสานงานโครงการจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • ฝ่ายประสานงานโครงการจะแจ้งการนัดหมายทั้งหมดผ่านผู้ประสานงานแต่ละทีม
  • โครงงานที่ได้รับรางวัลถือเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

รางวัล

  • รางวัลชนะเลิศ
    • ถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    • เงินรางวัลมูลค่า 300,000 บาท สำหรับสถาบันการศึกษา
    • ทุนการศึกษาสำหรับทีมนิสิตนักศึกษา 300,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ
    • เงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา
    • รางวัลศึกษาดูงานมูลค่า 200,000 บาท สำหรับทีมนิสิตนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง
    • เงินรางวัลมูลค่า 150,000 บาท สำหรับสถาบันการศึกษา
    • ทุนการศึกษาสำหรับทีมนิสิตนักศึกษา 150,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ
    • เงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา
    • รางวัลศึกษาดูงานมูลค่า 200,000 บาท สำหรับทีมนิสิตนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง
    • เงินรางวัลมูลค่า 75,000 บาท สำหรับสถาบันการศึกษา
    • ทุนการศึกษาสำหรับทีมนิสิตนักศึกษา 75,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ
    • เงินรางวัลมูลค่า 15,000 บาท สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา
    • รางวัลศึกษาดูงานมูลค่า 200,000 บาท สำหรับทีมนิสิตนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา
  • รางวัลชมเชย 2 รางวัล
    • เงินรางวัลมูลค่ารางวัลละ 50,000 บาท สำหรับสถาบันการศึกษา
    • ทุนการศึกษาสำหรับทีมนิสิตนักศึกษา รางวัลละ 50,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ
    • เงินรางวัลมูลค่ารางวัลละ 10,000 บาท สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา
    • รางวัลศึกษาดูงานมูลค่ารางวัลละ 200,000 บาท สำหรับทีมนิสิตนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา

สอบถามรายละเอียด โครงการ “กล้าใหม่...ใฝ่รู้”

  • โทรศัพท์: 02-652-1128, 02-652-1129, 087-695-4050
  • โทรสาร: 02-652-1159
  • e-mail address: scbchallenge@scb.co.th
  • Web-site: www.scbchallenge.com
Total Prize Money: 
2,368,000 Baht
Deadline: 
21 Aug 2014 10:00 to 25 Sep 2014 16:00

Members Online

There are currently 0 users online.