^ Back to Top

แข่งขัน Thailand Youth Space Ambassador Contest

แข่งขัน Thailand Youth Space Ambassador Contest

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอเชิญนักเรียน นักศึกษา สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน Thailand Youth Space Ambassador Contest ผู้ชนะเลิศจะได้ขึ้นเที่ยวบินไปสัมผัสกับสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง (Zero G Flight) กับ พี่มิ้ง พิรดา เตชะวิจิตร์ นักบินอวกาศหญิงคนแรกของประเทศไทย

ลักษณะการแข่งขัน
การแข่งขันรอบที่ 1
การแข่งขันรอบแรก ให้แต่ละทีมส่งข้อเสนอโครงงานในหัวข้อ “นำการทดลอง…ขึ้นสู่อวกาศ” พร้อมให้เหตุผลที่จะส่งการทดลองนั้นขึ้นสู่อวกาศ ชิ้นงานการทดลองต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 1 kg โดยไม่จำกัดขนาดและหัวข้อโครงงาน สำหรับโครงงานที่ได้รับการคัดเลือกจะถูกส่งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศเพื่อไปทดลองจริง ที่ความสูง 30 km เหนือระดับน้ำทะเล ในชั้นบรรยากาศสตาโตสเฟียร์ ซึ่งมีสภาพที่เป็นอวกาศ ด้วยระยะเวลานานกว่า 3 ชั่วโมง

โครงงานของน้องๆจะถูกผูกไว้กับส่วน Payload เพื่อส่งขึ้นสู่อวกาศ
โดยสภาวะที่ความสูงเหนือพื้นดิน 30 kmมีสภาวะคล้ายคลึงอวกาศ ดังนี้

  • ไม่มีอากาศ ทำให้ไม่มีแรงต้านอากาศ และไม่มีความดันบรรยากาศ (น้อยกว่า 10 mBar)
  • ไม่มีการลดทอนหรือรบกวนของแสงจากชั้นบรรยากาศ
  •  มีความเข้มของพลังงานแสงอาทิตย์สูงกว่าบนพื้นโลกมาก
  • รังสี UVA, UVB และ UVC เข้มข้นสูง
  • มีการแผ่รังสีสูงเมื่อเทียบกับพื้นโลก
  • อุณหภูมิต่ำสุด -60 องศาเซลเซียส
  • สภาวะเทียบเท่ากับดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจร แต่ยังคงอยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก

วิธีการสมัคร
1. กรอกใบสมัคร
 ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ http://goo.gl/3krzmVจากนั้นรอกใบสมัคร โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • หัวข้อโครงงานภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • ชื่อทีม และชื่อผู้เข้าร่วม สถานศึกษา สถานี่และเบอร์ติดต่อ และรายละเอียดของอาจารย์ที่ปรึกษา​

2. ยื่นข้อเสนอโครงการ
การยื่นข้อเสนอโครงการสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การส่งเอกสารข้อเสนอโครงการ หรือ การอัดวีดีโออธิบายโครงการ
2.1 วิธีการเขียนข้อเสนอโครงการประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

  • บทนำและจุดประสงค์การทำโครงงาน
  • สมมุติฐาน (Hypothesis)
  • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับหรือ ความเป็นไปได้ในการนำไปต่อยอดทางวิชาการ
  • รูปแบบ และ วิธีการสร้างโครงงาน (อย่างละเอียด)
  • บรรณานุกรม (Bibliography-Library and Internet Research) ระบุแหล่งอ้างอิง

2.2 วิธีการส่งคลิปวีดีโอ

  • อัดคลิปวีดีโอโดยอธิบายถึงหัวข้อการทำโครงงาน ความเป็นมา ความสำคัญวิธีการทดลอง ทฤษฏีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ความยาว 3- 5นาที อัพโหลดลง Youtube และส่ง Url มาพร้อมกับ ใบสมัครในฟอร์ม PDF

กติกาการแข่งขัน

  • เป็นนักเรียนนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในประเทศไทย ระดับมัธยมปลายถึงปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ไม่จำกัดสาขา และคณะการเรียน
  • รวมกลุ่ม ทีมละไม่เกินสองคน (อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปลาย)
  • ระยะเวลาการพัฒนาโครงงานไม่เกิน 2 เดือน โดยตลอดการพัฒนาชิ้นงานจะมีการช่วยเหลือให้คำปรึกษาของรุ่นพี่นักวิชาการและวิศวกร นักเรียนนักศึกษาจะได้รับทุนพัฒนาโครงการทีมละ 10,000.- บาท และต้องส่งผลงานตามเวลาที่ระบุ
  • ทรัพย์สินทางปัญญา (IPR) ของผลงานเป็นของนักเรียนนักศึกษาผู้พัฒนาโครงงาน ทั้งนี้ สทอภ. สามารถนำผลงานไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อการศึกษา และวิจัย ได้
  • โครงงานที่ทำจะต้องเป็นโครงงานที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์
  • เป็นโครงงานที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายเกินสมควร และไม่ผิดศีลธรรม
  • การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

เกณฑ์การแข่งขัน
เกณฑ์การตัดสินรอบแรก
คณะกรรมการจะพิจารณาข้อเสนอโครงการ ของ นักเรียนนักศึกษา เพื่อมาเข้าค่ายและ นักเรียน นักศึกษาจะได้รับเงินทุน 10,000.- บาท เพื่อพัฒนาชิ้นงาน โดยจะมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาในแต่ละโครงงานเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้ถูกต้อง โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนจากผู้เชี่ยวชาญดังนี้

  1. ความคิดสร้างสรรค์ 50%
  2. การยกสมมุติฐาน แนวคิด และทฤษฏี มาประกอบกับโครงงานที่จะจัดทำ 30%
  3. ความสมเหตุสมผลของโครงงานที่เสนอ และประโยชน์ของการทำโครงงาน 20%

การแข่งขันรอบที่สอง
นักเรียน นักศึกษา ที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจะต้องเดินทางมาเข้าค่าย ซึ่งจะมีการจัดสัมนาเชิงปฏิบัติการหลายกิจกรรม ประกอบด้วย การเรียนรู้การพัฒนาอุปกรณ์สื่อสารและติดตามเพื่อนำชิ้นงานการทดลองขึ้นสู่อวกาศ, การบรรยายจากผู้มีประสบการณ์ และผู้เชียวชาญในวงการอวกาศ, การสำรวจท้องฟ้า และดำเนินการพัฒนาชิ้นงานให้เสร็จสมบูรณ์ภายในค่าย โดยมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือด้านเทคนิค จากนั้นจะมีการนำเสนอผลงานให้กับคณะกรรมการถึงแนวคิด วิธีการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ และประโยชน์ที่สามารถนำไปต่อยอดการวิจัย ในงานประชุม Geoinfotech2014 ระหว่างวันที่ 12 – 14 พฤศจิกายน 2557 พร้อมประกาศผลการคัดเลือกทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ

เกณฑ์การตัดสินรอบที่สอง
การตัดสินรอบที่สอง ตัดสินจากโครงงานของนักเรียน/นักศึกษา ที่มีการจัดทำชิ้นงานและนำเสนอ สำหรับเกณฑ์การตัดสินสำหรับโครงงานที่จะได้ขึ้นสู่อวกาศมีดังนี้

  1. ความสมบูรณ์ในการพัฒนาโครงงาน 40%
  2. ความคิดสร้างสรรค์ และ คุณค่าของโครงงานที่สามารถนำไปต่อยอดได้ในเชิงวิชาการ 30%
  3. การนำเสนอโครงงาน 20%
  4. วินัยในการพัฒนาโครงงาน เช่น ความตรงต่อเวลา และ การให้ความร่วมมือ 10%

การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบที่สอง จะต้องนำชิ้นงานการทดลองขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศที่มีสภาพใกล้เคียงกับอวกาศเพื่อทำการทดสอบ และติดตามเก็บกู้เพื่อนำผลการทดลองมาวิเคราะห์ บันทึก และสรุปผล เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการอีกครั้งหนึ่ง

เกณฑ์การตัดสินรอบชิงชนะเลิศ

  1. ความสมบูรณ์ในการพัฒนาโครงงานให้เป็นไปตามขั้นตอนและทฤษฏีที่ได้ออกแบบไว้ 40%
  2. การสรุปข้อมูลจากการทำการทดลอง 30%
  3. การนำเสนอโครงงาน 20%
  4. วินัยในการส่งชิ้นงานขึ้นสู่อวกาศ เช่น ความตรงต่อเวลา และ การให้ความร่วมมือ 10%

กำหนดการ

  • ส่งข้อเสนอโครงการตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 สิงหาคม 2557
  • ประกาศผลโครงงานที่ได้รับคัดเลือกรอบแรก 5 กันยายน 2557
  • พัฒนาโครงงาน 5 กันยายน – 6 พฤศจิกายน 2557
  • เข้าค่าย 1 – 6 พฤศจิกายน 2557
  • นำเสนอชิ้นงานการทดลองที่ได้พัฒนาภายในงาน Geo-InfoTech วันที่ 12 – 14 พฤศจิกายน 2557 พร้อมประกาศผลรอบโครงงานที่ได้รับคัดเลือกรอบที่สอง
  • ส่งโครงงานขึ้นสู่อวกาศ 15 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไปตามระยะเวลาที่นัดหมายตามกลุ่ม
  • ขึ้นไฟล์ทสัมผัสสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง (Zero G Flight) เดือนมีนาคม 2558

รางวัลและการสนับสนุนโครงการ
1. ทุนสนับสนุน โครงานที่ผ่านการคัดเลือกจากกรรมการรอบแรก จะได้รับทุนสนับสนุน จาก จิสด้า ทีมละ 10,000.- บาท เพื่อจัดทำโครงงานตามข้อเสนอ
2. การเข้าค่ายรอบแรก นักเรียน นักศึกษา ที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจะได้เดินทางมาเข้าค่าย ซึ่งจะมีการจัดสัมนาเชิงปฏิบัติการหลายกิจกรรม ประกอบด้วย การเรียนรู้การพัฒนาอุปกรณ์สื่อสารและติดตามเพื่อนำชิ้นงานการทดลองขึ้นสู่อวกาศ, การบรรยายจากผู้มีประสบการณ์ และผู้เชียวชาญในวงการอวกาศ เจอกับพี่มิ้ง พิรดา, การสำรวจท้องฟ้า และดำเนินการพัฒนาชิ้นงานให้เสร็จสมบูรณ์ภายในค่าย โดยมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือด้านเทคนิค จากนั้นจะมีการนำเสนอผลงานให้กับคณะกรรมการถึงแนวคิด วิธีการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ และประโยชน์ที่สามารถนำไปต่อยอดการวิจัย ในงานประชุม Geoinfotech2014 ระหว่างวันที่ 12 – 14 พฤศจิกายน 2557 พร้อมประกาศผลการคัดเลือกทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
3. การส่งชิ้นงานขึ้นสู่อวกาศ น้องๆ ที่ผ่านการคัดเลือกจากการเข้าค่ายรอบแรก จะได้ส่งการทดลองขึ้นสู่อวกาศ และตามเก็บกู้ กับพี่ ๆ ทีมงาน
4. รางวัลชนะเลิศ ทีมที่ชนะเลิศจะขึ้นได้ขึ้นไฟล์ทสัมผัสสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง (Zero G Flight) เดือนมีนาคม 2558 ไปสัมผัสความรู้สึกของนักบินอวกาศกัน
5. การออกอากาศ ตลอดการแข่งขันจะมีการติดตามถ่ายทำเพื่อออกอากาศ ทางช่อง สาธารณะ ThaiPBS บอกให้คุณพ่อคุณแม่ เพื่อนๆ ติดตามชมได้เลย
6. ประกาศนียบัตร สำหรับทีมที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการ THASA Contest รุ่นที่ 1

ติดต่อสอบถาม
www.facebook.com/Thasacontest 
email : thasacontest@gmail.com

สายด่วน

  • เรื่องค่าย: น้องๆ คนไหนสงสัยเรื่องการเข้าค่าย กำหนดการ ข้อมูลทั่วไป การรับของรางวัล หรือ เงินสนับสนุนโครงการ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ พี่ปูน้อย 02-561-4504 ต่อ 421
  • เรื่องเทคนิค: น้อง ๆ คนไหน สงสัยมีปัญหาทางเทคนิค เช่น การทดลองที่จะทำอันตรายไปไหม มีข้อจำกัด หรือ มีเซ็นเซอร์อะไรวัดผลการทดลองได้หรือไม่ หรือ ข้อมูลอื่น ๆ ทางเทคนิคที่เกี่ยวกับบอลลูนฮีเลี่ยม ติดต่อ พี่เต้ย 098-9649390
File attachments: 
หมดเขต: 
12 ก.ค. 2014 10:00 to 31 ส.ค. 2014 16:00

Members Online

There are currently 0 users online.