^ Back to Top

ประกวดออกแบบงานประติมากรรม โครงการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

ประกวดออกแบบงานประติมากรรม โครงการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ขอเชิญชวน ศิลปิน นักศึกษาศิลปะกรรม และบุคคลทั่วไป ประกวดออกแบบงานประติมากรรม เพื่อการเรียนรู้สู่การมีส่วนร่วมสร้างสังคมสุขภาวะ 4 มิติ กาย ใจ สังคม และปัญญาภายใต้แนวคิด “การเดินทางของความสุข” โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ชิงรางวัล 200,000 บาท

ความเป็นมา
ด้วยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 โดย มีเจตนารมย์ในการสร้างเสริมสุขภาวะของคนไทยให้ยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพในบริบทต่างๆ เพื่อให้เกิดเป็นต้นแบบในการทำงานสร้างเสริมสุขภาพในสังคมไทยครบทั้ง 4 มิติ ได้แก่ กาย ใจ ปัญญา และสังคม

ใน ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา สสส. ได้สนับสนุนให้เกิดรูปแบบ และการประยุกต์ต้นแบบการสร้างเสริมสุขภาพจำนวนมาก โดยได้สนับสนุนให้เกิดโครงการในระดับพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 8,000 โครงการ การพัฒนาศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ จึงนับเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมให้องค์ความรู้ด้านการสร้างเสริม สุขภาพมีการรวบรวมและเผยแพร่ไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถจัดแสดงเป็นนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบนิทรรศการถาวร และนิทรรศการหมุนเวียนตามโอกาสต่างๆ

เป้า หมายของศูนย์เรียนรู้ฯ คือการเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพทั้งในและต่าง ประเทศอย่างเป็นระบบ และสามารถจัดบริการข้อมูลเพื่อให้บริการแก่ผู้ที่สนใจโดยสามารถนำข้อมูลและ องค์ความรู้กลับไปเผยแพร่ต่อในชุมชนของตนเองได้ โดยบริการเหล่านี้สามารถดำเนินการได้ทั้งในรูปแบบของเอกสาร หนังสือ และสื่อเคลื่อนไหวประเภทต่างๆ นอกจากนี้ ศูนย์เรียนรู้ฯ ยังเป็นพื้นที่รองรับการจัดประชุมสัมมนาด้านการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับการทำ งานของ สสส. และเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ ตลอดจนการรองรับการจัดงานหรือกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่เป็น ประโยชน์ ศูนย์เรียนรู้ฯ ยังเป็นพื้นที่ที่เอื้อให้เครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพได้ใช้เป็นพื้นที่ พบปะเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายเครือข่ายให้กว้างขวาง ทั้งนี้ โครงการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุ 80 พรรษาด้วย

ขณะ นี้ โครงการศูนย์เรียนรู้ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในพื้นที่ บริเวณซอยงามดูพลี ถนนพระราม 4 เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 30 ตุลาคม 2554

นิยามของ “สุขภาวะ” 4 มิติ

  • สุขภาวะทางกาย (Physical Well-being) หมาย ถึง การมีร่างกายแข็งแรง มีกำลังคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ไม่มีผลกระทบอันเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอ และการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ บั่นทอนสุขภาพ
  • สุขภาวะทางจิต (Spiritual Well-being) หมาย ถึง การมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสบายใจและอารมณ์สดชื่น ร่าเริง แจ่มใส นอนหลับสนิทดี ไม่มีความเครียดหรือความวิตกกังวลใด ๆ ไม่มีความคิดฟุ้งซ่าน และไม่มีอารมณ์ซึมเศร้า รวมทั้งไม่มีความคิดที่อยากจะฆ่าตัวตาย
  • สุขภาวะทางปัญญา (Intellectual Well-being) หมายถึง การถึงพร้อมด้วยสติปัญญา รู้จักแยกแยะและเท่าทันตนเอง เป็น “สุขภาวะด้านใน” ที่ สงบสุข อันเกิดจากการปฏิบัติภาวนาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งสามารถลดอัตตาและความเห็นแก่ตัว หากสุขภาวะทางปัญญาของมนุษย์และสังคมเสียสมดุล เต็มไปด้วยผู้คนที่เห็นแก่ตัว ขาดคุณธรรม ไม่รู้จักแยกแยะ มนุษย์และสังคมย่อมเป็นทุกข์
  • สุขภาวะทางสังคม (Social Well-being) หมาย ถึง สุขภาวะที่เกิดจากความสมดุลในการอยู่ร่วมกันของหลายชีวิตที่มีความเหมือนและ ความแตกต่างทั้งภูมิหลังที่มาและฐานะทางเศรษฐกิจ เริ่มจากครอบครัว สถานศึกษา ที่ทำงาน สมาคม และชุมชน ขยายวงสู่กลุ่มสังคมต่าง ๆ ความสมดุลดังกล่าวต้องเริ่มต้นด้วยความรัก ความเอื้ออาทรต่อกัน ผ่านการแสดงออกด้วยจิตอาสาที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ที่สำคัญ ต้องเชื่อมั่นในการคลี่คลายความขัดแย้ง ใด ๆ ด้วยสันติวิธี

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อให้บุคคลทั่วไปรู้จักโครงการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส.) ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะทั้ง 4 มิติ
  2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาระดับอุดมศึกษา และบุคคลทั่วไป ได้มีส่วนร่วมในการสร้างผลงานและเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้ความหมายและความ สำคัญของสุขภาวะ
  3. เพื่อตกแต่งภูมิทัศน์บริเวณ โครงการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ให้สวยงาม กลมกลืนกับอาคาร สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมขององค์กร สสส.

รูปแบบการจัดประกวด
เป็นการออกแบบประกวดงานประติมากรรม ภายใต้แนวคิด “การเดินทางของความสุข” เพื่อ ติดตั้งบริเวณหน้าอาคารศูนย์เรียนรู้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งผู้สมัครสามารถเลือกติดตั้งในจุดที่กำหนดไว้ 2 จุด ตามรายละเอียด ดังนี้

  1. ประติมากรรมลอยตัว ติดตั้งบริเวณลานโล่งขนาดพื้นที่ 20 x 12 เมตร โดยมีอาคารโครงการศูนย์เรียนรู้ล้อมรอบ น้ำหนักของประติมากรรมสูงสุดไม่เกิน 300 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร
  2. ประติมากรรมนูนสูงหรือนูนต่ำ ติดตั้งบนกำแพงโค้งด้านนอกอาคารศูนย์เรียนรู้ สูงไม่เกิน 3 เมตร ยาว 20 เมตร น้ำหนักไม่กิน 1,000 กิโลกรัม

ทั้ง นี้ต้องมีการนำเสนอแนวคิดงานประติมากรรมและการสร้างผลงานที่เปิดโอกาสให้ สาธารณชนหรือเครือข่ายของ สสส.เข้ามามีส่วนร่วมร่วมในการสร้างผลงาน

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิส่งงานเข้าประกวด
ศิลปิน นักออกแบบ และบุคคลทั่วไปที่อยู่ในประเทศไทยสามารถส่งเป็นสถาบันกลุ่ม หรือรายบุคคล

เงื่อนไขการสมัครและการส่งผลงาน

  1. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดสามารถ Download รายละเอียดและแบบฟอร์มสมัครส่งผลงานเข้าประกวดพร้อมรายละเอียดทาง website www.thaihealth.or.th
  2. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องส่งผลงานประกอบด้วย แบบรายละเอียดแสดงขนาดประติมากรรม รูปด้าน 4 ด้าน ขนาด A2 (420x 594 มม.) พร้อมอธิบายแนวคิดหรือแรงบันดาลใจในการออกแบบไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4
  3. รูปแบบจะต้องเป็นแนวคิดที่เสนอสำหรับการประกวดครั้งนี้โดยเฉพาะ โดยไม่มีการนำเสนอที่ไหนมาก่อน
  4. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดสามารถส่งผลงานเป็นสถาบัน กลุ่มหรือรายบุคคล โดยส่งได้ไม่เกิน 2 ผลงานต่อ 1 สถาบันหรือ 1 คน
  5. ผู้ที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกทั้งที่ติดตั้งบริเวณลานโล่งละกำแพงโค้งไม่เกิน จุดละ 5 รายจะต้องส่งผลงานในรูปแบบหุ่นจำลองเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินโดย สสส.สนับสนุนงบประมาณรายละ 10,000 บาท และกรรมการมีสิทธิ์ที่จะให้ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดปรับแก้ไขเพื่อความเหมาะสม ตามที่คณะกรรมการฯเห็นสมควร
  6. ผลงานประติมากรรมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จะได้รับการจัดสร้างเป็นประติมากรรมขนาดเท่าจริง ด้วยงบประมาณของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

หลักเกณฑ์การให้คะแนน

  1. แนวความคิดสร้างสรรค์ และคุณลักษณะด้านศิลปะกรรม
  2. การสร้างเอกลักษณ์และสื่อความหมาย ของนิยามสุขภาวะ 4 มิติในหัวข้อ “การเดินทางของความสุข”
  3. ความเป็นไปได้ในการนำไปสร้างงานและมีสภาพคงทนต่อสภาวะแวดล้อมได้
  4. กระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างชิ้นงาน

ขั้นตอนการตัดสินเกณฑ์การประกวดแนวความคิด
1. ให้คณะกรรมการเป็นผู้เลือกชิ้นงานที่มีแนวความคิดในเกณฑ์ดีที่ส่งเข้าประกวด ทั้งหมดให้เหลือเพียง จุดละ 5 แนวความคิด และส่งแบบจำลองให้คณะกรรมการพิจารณาตัดสินรอบชิงชนะเลิศภายในวันที่ 10 เมษายน 2554
2. กรรมการจัดทำแบบฟอร์ม เงื่อนไขของผู้ผ่านการคัดเลือกเสนอแนวความคิดไม่เกิน 5 รายสุดท้าย โดยให้ผู้เสนอลงนามยืนยันรับเงื่อนไข โดยมีประเด็นสำคัญ คือ
1) ผู้เสนอเป็นผู้ทำงานด้วยตนเอง เป็นความคิดตนเอง
2) ผู้เข้าประกวดที่ได้รับรางวัลต้องมอบลิขสิทธิ์ให้กับ สสส.
3) ผู้เสนอยอมรับผลการตัดสินของคณะกรรมการเป็นที่สิ้นสุด

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการฯ
• ประกาศเปิดตัวโครงการ 4 มกราคม 2554
• ปิดรับผลงาน 28 กุมภาพันธ์ 2554
• ประกาศผลผู้เข้ารอบคัดเลือก 15 มีนาคม 2554
• ประกาศผลรางวัลชนะเลิศ 30 เมษายน 2554

ผลงานที่ส่ง สสส.
ผลงานที่ส่ง สสส. ประกอบด้วย แบบรายละเอียดแสดงขนาดประติมากรรม รูปด้าน 4 ด้าน ขนาด A 2 (420x 594 มม.) พร้อมอธิบายคอนเซ็ปหรือแรงบันดาลใจในการออกแบบไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4,มา ที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 979/116 - 120 อาคาร เอส. เอ็ม. ทาวเวอร์ ชั้น 34 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

รายละเอียด
สุขภาวะคือ สภาพอันนำสู่ความสุขอย่างสมบูรณ์ทั้ง 4 มิติ กาย ใจ สังคม และปัญญา ซึ่งสภาพดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องร่วมกันของผู้คนทุกระดับในสังคม สสส. ในฐานะหนึ่งในหน่วยงานภาครัฐที่ร่วมรับผิดชอบในการสร้างเสริมสุขภาวะให้กับ สังคมไทย มีความต้องการที่จะผลักดันให้แนวคิดดังกล่าวเกิดเป็นรูปธรรมผ่านโครงการ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ซึ่งกำลังดำเนินการก่อสร้างบริเวณ ซอยงามดูพลี เขตสาทร กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ 3 ไร่

สสส.จึงขอเชิญชวนให้ทุกท่านร่วมนำเสนอแนวความคิดออกการแบบงานประติมากรรมภายใต้แนวคิด “การเดินทางของความสุข” ว่า ควรมีรูปแบบและลักษณะอย่างไร ผ่านงานประติมากรรมเพื่อติดตั้งบริเวณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กำหนดการส่ง แนวคิดและร่างแบบงานประติมากรรมภายในวันที่ 15 มกราคม 2554 (ไม่เกินเวลา 18.00 น.) ที่ สสส. ชั้น 34.อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท 10400 (กรณีที่ส่งผลงานทางไปรษณีย์จะยึดวันที่ประทับตราเป็นสำคัญ) โดยจะมีการตัดสินการประกวดรอบคัดเลือกในวันที่ 15 มีนาคม 2554 รอบชิงนะเลิศในวันที่ 30 เมษายน 2554 และจะแจ้งผลผ่านทาง www.thaihealth.or.th

รางวัลชนะเลิศ 200,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศ 100,000 บาท
รางวัลชมเชย 8 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท

งานประติมากรรมที่ผ่านรอบคัดเลือกจะได้รับเงินจำนวน 10,000 บาท เพื่อนำไปสร้าง หุ่นจำลอง 3 มิติเพื่อนำเสนอในรอบชิงชนะเลิศ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นางสาวปิยะพรรณ มลิหอม หรือนางสาวฐิติมา แสงรักษา
โทรศัพท์ 0-2298-0500 ต่อ 1020 หรือ 1088 โทรสาร 0-2298-0501
อีเมล์ piyaphan_m@thaihealth.or.th/thithma_sa@thaihealth.or.th

เผยแพร่ : www.contestwar.com
ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

มูลค่าเงินรางวัลรวม: 
400,000 Baht
File attachments: 
วันประกาศผล: 
ส, 2011-04-30 (All day)

Members Online

There are currently 0 users online.