^ Back to Top

ประกวดละครเพลงต่อต้านการทุจริต ประจำปี ๒๕๖๖

ประกวดละครเพลงต่อต้านการทุจริต ประจำปี ๒๕๖๖

มูลนิธิต่อต้านการทุจริต ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม, เครือเจริญโภคภัณฑ์ และกลุ่มทรู และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ขอเชิญนักเรียนระดับมัธยมศึกษา นิสิต นักศึกษา หรือเทียบเท่า ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดละครเพลงต่อต้านการทุจริต ประจำปี ๒๕๖๖ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนการศึกษามูลค่ารวมกว่า ๖๕๐,๐๐๐ บาท และเกียรติบัตร

วัตถุประสงค์

  • เป็นการประกวดการแสดงละครเพลงต่อต้านการทุจริตที่มีความร่วมสมัย เข้าถึงผู้ชมได้ง่าย และสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตให้กับประชาชน ผ่านการใช้บทเพลงช่อสะอาดต้านทุจริตทั้ง ๑๐ เพลง เพื่อปลูกฝังสร้างจิตสำนึกต่อต้านการทุจริตให้กับชาวไทยในทุกเพศ ทุกวัย
  • เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยร่วมสร้างสรรค์ผลงานการแสดงในรูปแบบละครเพลง เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการต่อต้านทุจริต ในรูปแบบใหม่ ๆ ให้เข้าถึงกลุ่มคนทุกเพศทุกวัยทั่วประเทศ
  • เพื่อแสดงถึงจุดมุ่งมั่นของมูลนิธิต่อต้านการทุจริต ในการจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการทุจริตอย่างต่อเนื่อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชนและครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานทางสังคมที่สำคัญที่สุดของทุกสังคม
  • เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ถึงวิธีการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตผ่านการประกวดโครงการนี้ โดยใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม
  • เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการรณรงค์ต่อต้านการทุจริต และสร้างความกล้าหาญให้กับเยาวชนในเรื่องการต่อต้านการทุจริต ที่เยาวชนสามารถเป็นผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบให้กับสังคมและให้กับประเทศชาติได้ในช่องทางที่ถูกต้อง ด้วยการสร้างเครือข่ายเพื่อนช่อสะอาด ระหว่างผู้เข้าประกวดและสถานศึกษาในการร่วมมือกัน รณรงค์ต่อต้านการทุจริต โดยจะไม่ทน ไม่ยอม และไม่เฉยต่อการทุจริต
  • เพื่อนำผลงานที่ได้จากการประกวดในรอบชิงชนะเลิศมาใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ ของมูลนิธิต่อต้านการทุจริต กระทรวงวัฒนธรรม เครือเจริญโภคภัณฑ์ และกลุ่มทรู และองค์กรสื่อสารมวลชน อื่นๆ ในการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตต่อไป

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าประกวด

  • การประกวดแบ่งเป็น ๒ ระดับ
    • ระดับมัธยมศึกษา
    • ระดับอุดมศึกษา
  • คุณสมบัติผู้สมัคร
    • ผู้สมัครระดับมัธยมศึกษา ต้องเป็นนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษา หรืออาชีวะศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
    • ผู้สมัครระดับอุดมศึกษา ต้องเป็นนิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา (ปวส.และปริญญาตรี)
    • กรณีที่การแสดงจำเป็นต้องมีตัวละครเด็กร่วมแสดง คณะกรรมการอนุญาตให้นำนักเรียนระดับประถมศึกษา และระดับอนุบาลเข้าร่วมการแสดงได้ แต่นักแสดงเด็กจะต้องอยู่ในสถานศึกษาเดียวกัน โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดคณะกรรมการจะพิจารณาว่าจะจัดให้อยู่ในระดับใด จะพิจารณาจากระดับการศึกษาที่สูงที่สุดของนักแสดงในทีม
  • สมาชิกในทีมต้องอยู่สถานศึกษาเดียวกันทั้งหมด
  • ผู้เข้าประกวดจะต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้บริหารสถานศึกษารับรอง
  • สมาชิกในทีมมีได้ไม่เกิน ๒๐ คน

เกณฑ์/ ประเภทการประกวด

  • การแสดงละครเพลง เป็นรูปแบบของละครที่นาดนตรี เพลง คำพูด และการเต้นรำ รวมเข้าด้วยกัน การแสดงอารมณ์ ความสงสาร ความรัก ความโกรธ รวมไปถึงเรื่องราวที่บอกเล่าผ่านละคร ผ่านคำพูด ดนตรี การเคลื่อนไหว เทคนิคต่าง ๆ ให้เกิดความบันเทิงโดยรวม เรียกง่าย ๆ ว่า ‘มิวสิคัล’
  • ความยาวของการแสดง ๗-๑๐ นาที
  • การแสดงจะต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและในการแสดงจะต้องใช้เพลงรณรงค์ต่อต้านทุจริตของมูลนิธิ ฯ อย่างน้อย ๑ เพลง โดยมีเพลงให้เลือกใช้พร้อม Backing Track จำนวน ๑๐ เพลง ดังนี้
    • เพลงช่อสะอาด...ต้านทุจริต
    • เพลงปลวก
    • เพลงเด็กไทยโตไปไม่โกง
    • เพลงใจสะอาด
    • เพลงต้นกล้าความดี
    • เพลงสาบานกับฟ้า สัญญากับใจ
    • เพลงกาล…โกง
    • เพลงทุจริตอย่าติดว้าว
    • เพลงฉันจะไม่ทน…
    • เพลงคนไทยหัวใจไม่โกง
  • ในการแสดงหากมีเพลงที่ไม่ได้แต่งเองนำมาประกอบการแสดงทั้งเพลงที่ใช้ขับร้อง และเพลงประกอบการแสดง ผู้สมัครจะต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงานในการนำมาใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และนำส่งหลักฐานการได้รับอนุญาตแนบมากับหลักฐานการสมัคร
  • ตัวละครที่ขับร้องเพลงต้องขับร้องด้วยตนเอง ไม่อนุญาตให้ใช้การลิปซิงค์ (Lip Sync)
  • จำนวนนักแสดงไม่เกิน ๒๐ คน

การสมัครประกวด และการส่งผลงาน

  • ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.acf.or.th, หรือที่เฟซบุ๊ก แฟนเพจ ‘ช่อสะอาดต้านทุจริต’
  • การส่งผลงานเข้าประกวดมีรายละเอียดดังนี้
    • ส่งผลงานการแสดงผ่านคลิปวิดิโอ ความยาวไม่เกิน ๗-๑๐ นาที ประเภทไฟล์ mp4 (Full HD ๑,๙๒๐ x ๑,๐๘๐) โดยแนบลิงค์ให้สามารถดาวน์โหลดได้
    • ส่งบทละคร และบทร้องที่แสดงในคลิปวิดีโอเพื่อเป็นข้อมูลประกอบให้คณะกรรมการพิจารณา โดยการพิมพ์เป็นไฟล์ WORD เท่านั้น
    • ส่งบทบรรยายแนวความคิดของการแสดงไม่เกิน ๑ กระดาษ A4 ให้คณะกรรมการพิจารณา โดยการพิมพ์เป็นไฟล์ WORD เท่านั้น
    • ส่งใบสมัคร และหลักฐานการศึกษาของสมาชิกในทีม เป็นไฟล์ PDF
    • ส่งคลิปวิดีโอ, บทละครและบทร้อง, บทบรรยายแนวความคิดของการแสดง พร้อมใบสมัครและหลักฐานการศึกษามาที่ E-mail : ppyactivities@trueplookpanya.com ภายในวันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖

วิธีดำเนินโครงการและหลักเกณฑ์การจัดประกวด

  • การประกวดรอบแรก
    • คณะกรรมการตัดสินรอบแรกประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต, กระทรวงวัฒนธรรม, เครือเจริญโภคภัณฑ์, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการแสดงละครเพลง และนักวิชาการด้านศิลปะการแสดง
    • การคัดเลือกรอบแรกมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
      • การตัดสินผลงานการแสดงจะแยกประเภทระหว่างระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา
      • การแสดงมีเนื้อหาชักชวนให้ประชาชนร่วมกันต่อต้านการทุจริต
      • การแสดงไม่มีเนื้อหาหรือถ้อยคำที่หยาบคาย หรือพาดพิงถึงบุคคล องค์กร หรือสถาบันให้ เกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง
      • การแสดงจะต้องมีบทเพลงรณรงค์ต่อต้านทุจริตของมูลนิธิ ฯ อยู่ในการแสดงอย่างน้อย ๑ เพลง จะร้องจนจบเพลง หรือร้องเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดก็ได้
      • ผลงานละครเพลง จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาใหม่ ไม่ลอกเลียนแบบมาจากที่ใด เนื้อหาบทละคร และคำร้อง ต้องแต่งขึ้นมาใหม่ทั้งหมด หากมีการใช้เพลงรณรงค์ต่อต้านการทุจริต ที่นอกเหนือจาก ๑๐ เพลงที่กาหนด ต้องเป็นเพลงที่แต่งเองขึ้นมาใหม่
      • การแสดงที่ส่งมาเป็นคลิปวิดีโอในรอบแรกต้องแสดงได้จริงบนเวทีการประกวดรอบชิงชนะเลิศ โดยคณะกรรมการมิได้คัดเลือกผลงานจากการถ่ายทำหรือการตัดต่อที่ดีและสมบูรณ์
    • คัดเลือกผลงานรอบแรก วันที่ ๑๑–๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ และประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก ในวันจันทร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๖ ที่ www.acf.or.th, และเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘ช่อสะอาดต้านทุจริต’
    • คณะกรรมการจะคัดเลือกการแสดงที่ผ่านรอบแรก ประเภทละ ๑๐ ทีม ภาค จากทั้ง ๒ ระดับ รวม ๒๐ ทีม เข้าสู่รอบที่ ๒ ต่อไป โดยทีมที่ผ่านรอบแรกจะได้รับทุนการศึกษาทีมละ ๕,๐๐๐ บาท
  • การประกวดรอบที่ ๒
    • ทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบที่ ๒ คณะกรรมการอาจจะมีการแนะนำให้ปรับปรุงแก้ไขการแสดงของแต่ละทีมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งทุกทีมจะต้องนำคำแนะนาจากคณะกรรมการไปปรับปรุงผลงานใหม่ให้เหมาะสม แล้วจัดการแสดงพร้อมถ่ายคลิปการแสดงส่งกลับมาให้คณะกรรมการพิจารณาอีกครั้ง สำหรับทีมที่ไม่ได้รับคำแนะนำแต่ละทีมอาจปรับปรุง และฝึกซ้อมการแสดงให้สมบูรณ์ดียิ่งขึ้น ก่อนถ่ายคลิปการแสดงส่งกลับมาให้คณะกรรมการพิจารณาอีกครั้ง ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ทาง E-mail : ppyactivities@trueplookpanya.com
    • การคัดเลือกรอบที่ ๒ จัดให้มีขึ้นในวันศุกร์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ คณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต, กระทรวงวัฒนธรรม, เครือเจริญโภคภัณฑ์, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการแสดงละครเพลง และนักวิชาการด้านศิลปะการแสดง
    • โดยพิจารณาคัดเลือกผลงานการแสดงให้เหลือระดับละ ๕ ทีม รวม ๑๐ ทีม จากทั้ง ๒ ระดับ เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศต่อไป โดยพิจารณาจากผลงานที่มีเนื้อหาต่อต้านการทุจริตที่โดนใจ การแสดงที่งดงาม มีคุณภาพ มีความเป็นละครเพลง ‘มิวสิคัล’ ที่โดดเด่น พร้อมทั้งผสมผสานความคิดสร้างสรรค์และการประยุกต์เข้ากับสังคมในยุคปัจจุบันตลอดทั้งไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของไทย และมีความเหมาะสมสำหรับการแสดงรอบชิงชนะเลิศ
    • ทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศทั้ง ๒ ระดับ จำนวน ๑๐ ทีมจะได้รับเงินทุนสนับสนุนการประกวดทีมละ ๑๐,๐๐๐ บาท และค่าเดินทางสำหรับรอบชิงชนะเลิศอีก ๕,๐๐๐ บาท รวมเป็น ๑๕,๐๐๐ บาท สำหรับนำไปพัฒนาการแสดง และร่วมกิจกรรมในรอบชิงชนะเลิศต่อไป
    • ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ในวันจันทร์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๖ ที่ www.acf.or.th, และเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘ช่อสะอาดต้านทุจริต’
  • รอบชิงชนะเลิศ
    • เกณฑ์การพิจารณา คณะกรรมการจะพิจารณาคุณลักษณะดังต่อไปนี้
      • เนื้อหา คำร้อง ต้องเป็นการแสดงชุดเดียวกับในคลิปวิดีโอ ที่ส่งมาในรอบแรก แต่อนุญาตให้ปรับเพิ่มเติมเนื้อหาการแสดงหรือสร้างความน่าสนใจในการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตได้ตามความเหมาะสม
      • ในแต่ละทีมสามารถเลือกที่จะใช้ดนตรีประกอบการขับร้อง (Backing Track) ซึ่งเป็นเพลงรณรงค์ต่อต้านทุจริตของมูลนิธิ ฯ หรือเพลงที่ตัวเองแต่งขึ้นมาเองก็ได้ในการประกวดรอบชิงชนะเลิศ แต่ถ้าหากใช้ดนตรีที่ไม่ได้แต่งขึ้นเองมาประกอบในการแสดงจะต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ และต้องนำส่งหลักฐานที่ได้รับการอนุญาตนำส่งให้คณะกรรมการก่อนทำการประกวดรอบชิงชนะเลิศ
      • เนื้อหาการแสดงสามารถชักชวนให้ ประชาชนมาร่วมกันต่อต้านการทุจริต และไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของไทย และไม่พาดพิงถึงบุคคล องค์กร หรือสถาบันให้ เกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง
    • ขั้นตอนการประกวด
      • ผู้เข้าประกวดพูดนำเสนอแนวคิดในการสร้างสรรค์การแสดงชุดนี้ไม่เกิน ๒ นาที
      • จัดการแสดงในเวลา ๗-๑๐ นาที บนเวทีต่อหน้าคณะกรรมการ
      • คณะกรรมการซักถาม ๕ นาที
        (การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด)
    •  คณะกรรมการร่วมตัดสินรอบชิงชนะเลิศประกอบด้วย จากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต, กระทรวงวัฒนธรรม เครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), ศิลปินแห่งชาติ, ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการแสดงละครเพลง และนักวิชาการด้านศิลปะการแสดง ในวันอังคารที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร

ห้วงระยะเวลาการจัดงาน

  • เปิดรับผลงาน วันที่ ๑๑ กรกฎาคม - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖
  • ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ วันที่ ๘ กรกฎาคม - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖
  • ปิดรับผลงาน วันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖
  • คัดเลือกผลงานรอบแรก วันที่ ๑๑- ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๖
  • ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก วันจันทร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๖
  • ส่งคลิปวิดีโอที่ปรับใหม่ให้คณะกรรมการ วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  • คัดเลือกผลงานรอบที่สอง วันศุกร์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๖
  • ประกาศผลผู้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ วันจันทร์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๖
  • ซ้อมใหญ่การประกวดรอบชิงชนะเลิศ วันจันทร์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
  • การประกวดรอบชิงชนะเลิศ วันอังคารที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗

รางวัลการประกวด

  • ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา
    • รางวัลชนะเลิศ
      • ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
      • เกียรติบัตรจากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
      • ทุนการศึกษา จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑
      • ถ้วยเกียรติยศ ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ ประธานกรรมการมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
      • เกียรติบัตรจากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
      • ทุนการศึกษา จำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒
      • ถ้วยเกียรติยศ จากกระทรวงวัฒนธรรม
      • เกียรติบัตรจากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
      • ทุนการศึกษา จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท
    • รางวัลชมเชย ( ๒ รางวัล )
      • ถ้วยเกียรติยศ จากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
      • เกียรติบัตรจากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
      • ทุนการศึกษา จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท
  • รางวัลสำหรับทีมที่ผ่านเข้ารอบแรก ๒๐ ทีม
    ทั้ง ๒ ระดับชั้น ทุนสนับสนุน ทีมละ ๕,๐๐๐ บาท
  • รางวัลสำหรับทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ๑๐ ทีม
    ทั้ง ๒ ระดับชั้น ทุนสนับสนุน ทีมละ ๑๕,๐๐๐ บาท
  • รางวัลขวัญใจมหาชน ( Popular Vote )
    • ถ้วยเกียรติยศ จากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
    • เกียรติบัตรจากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต
    • ทุนการศึกษา จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท

หมายเหตุ

  • การลงคะแนนผ่านระบบคิวอาร์โค้ด (QR code) สามารถลงคะแนนได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งแต่จะต้องอยู่ภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น
  • คณะกรรมการจะนับคะแนนโหวตจากผู้ที่ชื่นชอบการแสดงนั้น ๆ ซึ่งพิจารณาจากผลรวมของการนับคะแนนจากการลงคะแนนผ่านระบบคิวอาร์โค้ด (QR code) จากการแสดงทั้ง ๒ ระดับชั้น ภายในเวลาที่กำหนด ณ วันถ่ายทอดสดการประกวดในรอบชิงชนะเลิศ

ติดต่อสอบถาม

  • โทร. ๐๙๗-๒๘๙-๙๒๔๖, ๐๙๖-๘๗๙-๖๔๑๖
  • www.facebook.com/Chorsaardthailand
มูลค่าเงินรางวัลรวม: 
650,000 Baht
File attachments: 
หมดเขต: 
11 ก.ค. 2023 04:59 to 30 ก.ย. 2023 17:00

Members Online

There are currently 0 users online.