^ Back to Top

ประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2566 - 2567

ประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2566 - 2567

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ขอเชิญผู้สนใจ ชุมชน และหน่วยงาน ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2566 - 2567 ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวม 1,330,000 บาท พร้อมโล่พระราชทาน

ประเภทส่งเสริมการปลูกและขยายผล แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • ประเภทบุคคล: ผู้ส่งผลงานประกวดต้องใช้ประโยชน์ จากหญ้าแฝกในที่ดินนั้น ๆ ตามกฎหมาย
  • ประเภทชุมชน และ/หรือ หน่วยงาน: ชุมชน วัด สถาบันการศึกษา หน่วยงาน ภาคเอกชน และส่วนราชการที่ดำเนินการปลูกและใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกร่วมกับชุมชน

ผลงานที่ส่งเข้าประกวด แบ่งเป็น 6 ประเภท ได้แก่

  • ประเภทพื้นที่ลาดชัน
    หมายถึง พื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยมีรูปแบบเป็นที่ประจักษ์และมีการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกสู่บุคคล ชุมชน โรงเรียน หรือหน่วยงานอื่น ๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • ประเภทพื้นที่เชิงลาดแหล่งน้ำ/ไหล่ทาง
    หมายถึง พื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ริมแหล่งน้ำธรรมชาติ และขุดสร้างขึ้น อาทิ ตลิ่งริมน้ำ แหล่งเก็บกักน้ำ เช่น ขอบบ่อ ขอบสระ คันดินถมสูง ไหล่ทาง โดยให้ความสำคัญด้านการป้องกัน การกร่อนหน้าดิน และการพังทลายของตลิ่งริมน้ำ/ไหล่ทาง เป็นหลัก ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และมีการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกสู่บุคคล ชุมชน โรงเรียน หรือหน่วยงานอื่น ๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • ประเภทพัฒนาพื้นที่ดินเสื่อมโทรมและดินที่มีปัญหา
    หมายถึง พื้นที่ที่ให้ความสำคัญกับการปลูกหญ้าแฝกเพื่อแก้ไขปัญหาดินเสื่อมโทรม หรือดินที่มีปัญหา อาทิ ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินเนื้อปูน ดินตื้น ดินลูกรัง ดินดาน ดินทรายจัด และดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเป็นหลัก โดยมีการปฏิบัติและจัดการเป็นที่ประจักษ์ และมีการส่ง เสริมการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกสู่บุคคล ชุมชน โรงเรียน หรือหน่วยงานอื่น ๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • ประเภทพื้นที่แหล่งเรียนรู้และขยายผล
    หมายถึง พื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านหญ้าแฝกเป็นหลัก มีศักยภาพสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ และขยายผลการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกสู่สังคมชุมชนภายนอกอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และเป็นแบบอย่างการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกได้อย่างถูกต้อง และช่วยสร้างเครือข่ายจากการขยายผล
  • ประเภทความยั่งยืน
    หมายถึง บุคคลที่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศโล่พระราชทานในโครงการประกวดฯ ด้านการปลูกและส่งเสริมการปลูก มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ยังมีการปลูกและขยายผลการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริ เผยแพร่องค์ความรู้ต่อเนื่อง เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ จนถึงปัจจุบัน
  • ประเภทหน่วยงานและส่วนราชการที่ร่วมส่งเสริมการปลูกและขยายผลการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
    หมายถึง หน่วยงานที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการส่งเสริมการปลูกและขยายผลการปลูก เป็นต้นแบบการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมและเป็นรูปธรรมชัดเจน ทั้งในพื้นที่ภายในหน่วยงานหรือพื้นที่ที่รับผิดชอบหรือพื้นที่ที่ร่วมดำเนินการกับชุมชน รวมไปถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม

ขั้นตอนการรับสมัครและส่งผลงาน

  • หมดเขตส่งผลงาน 29 กุมภาพันธ์ 2567
  • โปรดกอกรายละเอียดข้อมูลผลงาน ตามเอกสารแนบท้าย ให้ครบถ้วน
    ผู้ส่งงานต้อง อัดคลิปวีดีโอ ผลงานการปลูกหญ้าแฝก โดยมีหัวข้อและเงื่อนไขการอัดคลิปวีดีโอ ดังนี้
    • หัวข้อ ประกอบด้วย
      • ข้อมูลทั่วไป
      • บรรยายสภาพปัญหาของพื้นที่ก่อนและหลังปลูกหญ้าแฝก
      • วิธีการแก้ไข
      • ผลสัมฤทธิ์
      • การส่งเสริมและการขยายผล
    • เงื่อนไข
      • เนื้อหาต้องเป็นไปตามหัวข้อที่กำหนด โดยมีการระบุช่วงเวลาการถ่ายทำ ความยาวคลิปวีดิโอไม่เกิน 3-5 นาที
      • สามารถถ่ายทำด้วยโทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายวีดีโอ หรือกล้องประเภทอื่น ๆ ได้โดยไม่จำกัดเทคนิคการถ่ายทำความละเอียดภาพ ของ VDO ไม่น้อยกว่า 720p (HD)
  • ส่งใบสมัครผลงานและคลิปวีดิโอ โดยส่ง Link เพื่อแชร์คลิปวีดีโอมาที่ อีเมล : vetivercontest@gmail.com

ติดต่อสอบถาม

  • โทรศัพท์ : 02-4478533, 0896934950 (คุณนงพรรณ)
  • อีเมล : vetivercontest@gmail.com
มูลค่าเงินรางวัลรวม: 
1,330,000 Baht
File attachments: 
หมดเขต: 
31 ม.ค. 2024 08:30 to 29 ก.พ. 2024 16:30

Members Online

There are currently 0 users online.