^ Back to Top

บรรยาย หัวข้อ ดนตรีสังเคราะห์ระหว่างวัฒนธรรม: สภาวะพหุนิยมทางทฤษฎีความรู้ ในงานวิจัย และงานแสดงดนตรีไทยระหว่างวัฒนธรรม

บรรยาย หัวข้อ ดนตรีสังเคราะห์ระหว่างวัฒนธรรม: สภาวะพหุนิยมทางทฤษฎีความรู้ ในงานวิจัย และงานแสดงดนตรีไทยระหว่างวัฒนธรรม

หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ขอเชิญผู้สน เข้าร่วมฟังการบรรยาย หัวข้อ ดนตรีสังเคราะห์ระหว่างวัฒนธรรม: สภาวะพหุนิยมทางทฤษฎีความรู้ ในงานวิจัย และงานแสดงดนตรีไทยระหว่างวัฒนธรรม โดย John Garzoli ในวันเสาร์ที่ 11 ม.ค. 2562 เวลา 14:00 น. ณ ห้องสมุดวิลเลียม วอร์เรน : William Warren Library

Jim Thompson Art Center presents
Intercultural Musical Synthesis: Epistemological pluralism in the research and performance of intercultural Thai music’
A Talk by John Garzoli
Saturday, 11 January 2020, 14:00 pm
At William Warren Library, Soi Kasemsan 2, Rama 1 Rd., Bangkok

This talk addresses performance and analytical issues arising out of processes in which inherently disparate musical-cultural concepts and practices are drawn together for artistically expressive purposes.

Intercultural Musical Synthesis (IMS) is the practice of combining music from different cultural traditions. Although made ubiquitous through globalisation, it is not a straightforward process. In cases where elements and concepts from the disparate Thai and ‘Western’ musical systems are combined, processes of creating and explaining IMS are complicated by a lack of consensus over what is being combined, how and why. Performance of IMS is complicated through differences in how these two traditions conceptualise tuning, texture, timbre, aesthetic beauty and notions of musical time. Explanations and analysis become distorted through the uncritical use of terms and concepts developed for just one side of the pairing. A founding assumption that John challenge is that the concepts underpinning European analysis are universal norms that can be used to frame interpretations of all music. Musical practices and the terms used to describe them are neither universal nor culturally neutral. European derived terms and concepts reflect the structural and aesthetic interests of that musical tradition. Their use as general evaluative criteria presupposes that characteristics found in ‘Western’ musical worlds, such as ‘harmonic practice’, can be generalised. The imposition of extrinsic concepts and terms in the description of Thai musical practice misrepresents Thai music by reducing its complexities (and those of IMS) to the conceptual and rhetorical terms of the West. By evaluating Thai music by standards not relevant to it, it can be seen as deficient in its lack of characteristics important to Western music. But more importantly, Western derived concepts and their trailing ideologies displace and speak over indigenous explanatory models. New artistic landscapes opened up by intercultural expressive practices require more than postmodern ambivalence. They require new interpretive models that reflect and honour the artistic ideals, aesthetic values and intellectual heritage of the cultures that are brought together.

About John Garzoli
John Garzoli holds a PhD in ethnomusicology from Monash University where he is an Adjunct Research Fellow. He is currently ‘Artist in Residence’ in the Faculty of Fine and Applied Arts at Chulalongkorn University working on the use of guitar in traditional Thai music. His research involves traditional and contemporary Thai music, pedagogy, intercultural musical synthesis, performance practice, aesthetics and jazz. He is a recipient of the ‘2011 Prime Minister’s Asia Endeavour Award’, the ‘2106 Endeavour Post-doctoral Research Fellowship’, the ‘2016 Chulalongkorn University ENIT’s Research Award’ and the 2016 DFAT-ATI ‘Artist in Residence’ award.  He was a ‘Visiting International Scholar’ at Khon Kaen University in 2015, 16 and 17 and is an ‘Asialink Leaders Fellow’. He is also Director of Research at the Melbourne based organisation Cultural Infusion.

หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน เสนอ
การบรรยายโดย จอห์น การ์โซลิ
ในหัวข้อ ดนตรีสังเคราะห์ระหว่างวัฒนธรรม: สภาวะพหุนิยมทางทฤษฎีความรู้ ในงานวิจัย และงานแสดงดนตรีไทยระหว่างวัฒนธรรม
วันเสาร์ที่ 11 ม.ค. 2562 เวลา 14:00 น.
ณ ห้องสมุดวิลเลียม วอร์เรน ซอยเกษมสันต์ 2 ถ. พระราม 1 กรุงเทพฯ

การบรรยายในครั้งนี้ จอห์นจะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการแสดงและการวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการที่แนวคิดและวิถีปฏิบัติทางดนตรี - วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ถูกนำมารวมกันเพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงออกอย่างมีศิลปะ

ดนตรีสังเคราะห์ระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural Musical Synthesis -IMS) คือดนตรีที่เกิดจากการรวมดนตรีที่มาจากหลากหลายวัฒนธรรมดั้งเดิมเข้าไว้ด้วยกัน ถึงแม้ว่าการแพร่กระจายไปทุกหนทุกแห่งเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปในยุคโลกาภิวัตน์ แต่กระบวนการนี้ก็ไม่ได้ตรงไปตรงมาอย่างที่คิด ในหลายๆ กรณีที่องค์ประกอบและแนวคิดที่แตกต่างกันของดนตรีไทย และระบบดนตรีจากโลกตะวันตก จะถูกรวมเข้าด้วยกัน กระบวนการสร้าง และคำอธิบายถึงดนตรีสังเคราะห์ระหว่างวัฒนธรรมนั้นมีความซับซ้อน เนื่องจากการขาดมติความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ว่าอะไรที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และการรวมตัวกันเกิดขึ้นได้อย่างไร และเพื่อเหตุผลใด การแสดงดนตรีสังเคราะห์ระหว่างวัฒนธรรม (IMS) นั้นมีความซับซ้อนที่เกิดขึ้นจากขนบธรรมเนียมทั้งสองได้สร้างกรอบความคิดต่อการปรับเสียง พื้นผิวของดนตรี น้ำเสียง ท่วงทำนอง สุนทรียภาพ และแนวคิดเกี่ยวกับเวลาทางดนตรีที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง คำอธิบายต่างๆ และการวิเคราะห์ถูกทำให้บิดเบือนจากการใช้คำจำกัดความ และแนวคิดที่ถูกพัฒนามาจากฝ่ายเดียวโดยปราศจากการพินิจพิเคราะห์ โดยข้อสันนิษฐานที่จอห์นกำลังท้าทายคือแนวคิดต่างๆ ที่เกี่ยวกับบทวิเคราะห์จากทางฝั่งยุโรป ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสากล ที่สามารถนำมาใช้เป็นกรอบในการตีความดนตรีทุกประเภทได้ การอธิบายเรื่องราวทางดนตรี หรือการให้คำจำกัดความต่างๆ ไม่ใช่ทั้งสิ่งที่เป็นสากล หรือวัฒนธรรมอันเป็นกลาง ชาวยุโรปได้รับคำจำกัดความและแนวคิดต่างๆ ที่สะท้อนโครงสร้างและความสนใจเชิงสุนทรียะของดนตรีดั้งเดิมจากที่นั่น พวกเขาใช้ข้อสันนิษฐานประเภทของการประเมินในแบบทั่วๆ ไป ที่มีลักษณะเฉพาะที่พบใน โลกดนตรี “ตะวันตก”  เช่น ทำนองประสาน (harmonic practice)  และทำให้เป็นคุณลักษณะที่สามารถพบได้ทั่วไป สถานะของแนวคิดและคำจำกัดความที่มาจากภายนอก เพื่อใช้ในการอธิบายดนตรีไทย ถือว่าเป็นการอธิบายถึงดนตรีไทยในแบบที่ผิด โดยมีการลดความซับซ้อน (และประเภทของดนตรีสังเคราะห์ระหว่างวัฒนธรรม - IMS) เพื่อไปสู่แนวคิดและคำจำกัดความที่ต่างพูดกันในฝั่งตะวันตก  การประเมินดนตรีไทยโดยใช้รูปแบบมาตรฐานที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกันโดยตรง ทำให้เห็นการขาดหายไปของคุณลักษณะที่สำคัญในโลกดนตรีตะวันตก แต่สิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้น คือแนวคิด และร่องรอยอุดมคติของชาวตะวันตก ที่เข้ามาถอดถอนรูปแบบการอธิบายในเชิงท้องถิ่น ภูมิทัศน์ทางศิลปะรูปแบบใหม่ที่ถูกเปิดออกโดยวิถีปฏิบัติของการแสดงออกระหว่างวัฒนธรรม ต้องการมากกว่าสภาวะกำกวมของยุคหลังสมัยใหม่ โดยสิ่งที่ต้องการจริงๆ คือต้นแบบของการให้ความหมายแบบใหม่ซึ่งสะท้อนและเคารพอุดมคติทางศิลปะ คุณค่าทางสุนทรียะ และมรดกภูมิปัญญาของวัฒนธรรมอันหลากหลายที่ถูกรวมเข้าไว้ด้วยกัน

เกี่ยวกับ จอห์น การ์โซลิ
จอห์น การ์โซลิ ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขามานุษยดนตรีวิทยา จากมหาวิทยาลัย Monash ประเทศออสเตรเลีย ปัจจุบันจอห์นเป็นศิลปินในพำนัก ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จอห์นศึกษาการใช้เครื่องดนตรีประเภทกีตาร์ในเพลงไทยเดิม โดยทำงานวิจัยเกี่ยวกับดนตรีไทยเดิม และดนตรีไทยร่วมสมัย รวมถึงศาสตร์การสอน ดนตรีสังเคราะห์ระหว่างวัฒนธรรม การแสดง สุนทรียะศาสตร์ และแนวดนตรีแจ๊ส จอห์นเคยได้รับรางวัล Prime Minister’s Asia Endeavour Award เมื่อปี พ.ศ. 2554 และได้รับทุนวิจัย Endeavour Post-doctoral Research Fellowship เมื่อปี พ.ศ. 2559 รวมถึงได้รับรางวัลงานวิจัยจาก Chulalongkorn University ENIT’s Research Award และ รางวัล DFAT-ATI ‘Artist in Residence’ award ในปีเดียวกัน จอห์นเคยเป็นนักวิชาการต่างชาติผู้มาเยือน (Visiting International Scholar) ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อ ปีพ.ศ. 2558 - 2560 และ Asialink Leaders Fellow นอกจากนี้แล้วจอห์นยังเป็นผู้อำนวยการวิจัยขององค์กร Cultural Infusion ประจำเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ : Jim Thompson Art Center

Seminar date: 
11 Jan 2020 14:00 to 16:00
File attachments: 

Members Online

There are currently 0 users online.